วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

ความสุขกับชีวิตมหาลัย




                           เบื่ออ่ะ ตั้งแต่เรียนมหาลัยมา ชีวิตไม่เคยมีความสุขแบบยิ้มได้แบบเต็มที่สักวัน  ความสุขแบบตอนเรียนมัธยมไม่รู้ว่ามันหายไปไหนหมด  เรียนก็ยาก  กิจกรรมเยอะ  บางทีขนาดจะสอบแล้วกีฬามั่ง โน่นนี่นั่นยังท่วมหัวอยู่เลย  มันดูเหมือนมันไม่เป็นระบบไม่เป็นเวลา  บางทีก็ชอบมีนัดเรื่อยเปื่อยทั้งๆที่มันไม่ได้จำเป็นอะไร บางทีก็มีเรียนตอนดึกทุ่มนึงเสร็จสามทุ่ม  บางทีก็มีสอบตอนทุ่มนึง  ไม่ก็เรียนวันเสาร์  อาทิตย์แบบไม่ค่อยมีเวลาว่างเลย บางทีก็รู้สึกเหมือนเราอยู่คนเดียว  คิดต่างจากคนอื่นในหลายๆเรื่อง กิจกรรมก็ไม่ค่อยอยากจะเข้าร่วม  เข้ากับคนอื่นไม่ค่อยจะได้ก็มันเบื่อนิ  เจอแต่พวกน่าเบื่อ คนน่าเบื่อ  พวกชอบนัดแล้วมาสาย  เวลาไม่เป็นเวลา  นัดทำงานแล้วมาเล่นไม่ยอมทำให้มันเสร็จๆ ชอบทำให้หงุดหงิดอยู่เรื่อยเลย   งานก็ต้องทำเยอะบางทีเหมือนเราอยู่ท่ามกลางพวกอะไรก็ไม่รู้คุยกันแต่เรื่องหยุมหยิมไร้สาระ แถมบางทีไม่รู้คิดไปเองรึเปล่าว่าคนพวกนั้นบางทีก็มองเราแปลกๆ  บางทีสายตาเหมือนกับมองมาแบบว่าดูถูกว่าเราทำไม่ได้เหมือนเค้า  เราก็รู้สึกน่ะว่าก็คนเรามันต่างกันมันเก่งอันนี้แต่เราถนัดอีกอย่างถ้ามันมาอยู่ตรงที่ที่เราถนัดเรื่องนี้อยู่มันก็กลายเป็นแค่คนกากๆ คนนึงที่ทำอะไรไม่ค่อยได้เหมือนกันอะแหละ  มันก็อย่างว่าคนรอบข้างหรือสภาพแวดล้อมรอบตัวเรามักมีผลกับเราเสมอมันก็เป็นส่วนหนึ่่งทีทำให้ชีวิตตอนนี้ไม่มีความสุขเอาสะเลย การบ้านก็แยะยิ่งสาขาที่เรียนก็อ่านหนังสือกันจนเหนื่อย ทำแลปกันจนเพลียโดยเพฉาะพวกแลปทดลองเนี่ย  ต้องอยู่กับสารเคมี  แลปแต่ละครั้งก็นานมากกกกก     เรียนไม่กี่หน่วยยกิจแต่เจอแลป สอง สามตัวนี่แบบตารางแน่นเลย ยิ่งสาขาที่เรียนก็มีแต่แลปๆๆๆๆๆๆๆๆๆเมื่อก่อนอยากเรียนแลปสะมากมาย มาเจอเอาตอนนี้บอกได้เลยว่า "เข็ด" แล้วจริงเบื่อสภาพแบบนี้เต็มทีและเหมือนกับต้องทนให้ผ่านไปได้วันๆ  ชีวิตมันน่าเบื่อขนาดนี้เลยหลอ  เรียนก็เหมือนกันคณะที่เรียนอยู่รู้สึกว่ามันไม่โอเลยจริงๆ ต้องจมอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ  จนครบสี่ปีเลยหลอตอนนี้รู้สึกเหนื่อยรู้สึกเหนื่อยท้อเต็มทีไม่อยากทำอะไรมันสักอย่างเลยวุ๊ย!!!!!  เบื่อๆ

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

6 วิธีละลายความเครียดในมหาวิทยาลัย

              สำหรับนักศึกษาอย่างเราๆ  ก็อย่างว่าอะน่ะมันก็ต้องเจอกับเรื่องเครียดเป็นธรรมดา วันนี้เลยมีข้อมูลดีๆเกี่ยวกับการจัดการกับความเครียดมาให้ลองทำดูกัน ^^

เชื่อไหมว่า!! ความเครียดที่มากเกินไปทำให้เราสอบได้เกรดไม่ดี กิจกรรมก็ไม่ดี  วิธีละลายความเครียดในรั้วมหาวิทยาลัยมีหลักการง่ายๆ อยู่ที่ “การบริหารเวลา” เพราะส่วนใหญ่ความเครียดมักเกิดจากเวลาที่เรารู้สึกว่าควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ยิ่งเราควบคุมอารมณ์ได้ดีเท่าไร ความเครียดและกังวลก็จะยิ่งน้อยลงไปด้วย
ก่อนที่จะไปถึงเทคนิคละลายความเครียด หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยลดความเครียดได้คือการ “หัวเราะ” ค่ะ ดังนั้นเราควรจัดตารางเวลาไว้เพื่อทำกิจกรรมที่ได้หัวเราะบ้าง เช่น ดูหนังตลก ใช้เวลาผ่อนคลายและหัวเราะอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องคิดกังวลเรื่องการเรียน หลังจากได้พักเต็มที่แล้วค่อยหันกลับมาหาทางจัดการกับความเครียด กันดีกว่า


6 วิธีละลายความเครียดในมหาวิทยาลัย

1. ดูว่าความเครียดของเราเกิดจากการบริหารเวลาไม่เป็นหรือไม่ – ถ้าความเครียดและวิตกกังวลของเราเกิดจากเราทำงานส่งไม่ทัน, ไม่มีเวลาทำแลป, กิจกรรมชมรมมากเกินไป, ทำงานหนัก, หรือมีภาระต้องดูแลแฟน สิ่งที่ควรทำคือตั้งใจบริหารเวลาให้ดีขึ้นกว่าเดิม การบริหารเวลาไม่เป็นเกิดจากการทำงานช้า, กะเวลาผิดพลาดเพราะคิดว่าน่าจะทำงานเสร็จได้ทันเวลา, และใช้เวลาในรายละเอียดที่ไม่สำคัญมากเกินไป
วิธีการละลายความเครียดของปัญหานี้คือ: หาเวลาว่างเพียงพอสำหรับทบทวนบทเรียนก็จะรู้สึกเครียดและกังวลลดลง และส่งผลให้เกรดดีขึ้นได้เอง

2. ทำตารางเวลาให้เหมาะกับบุคลิกภาพ, เวลาเรียน, และไลฟ์สไตล์ของเรา – ถ้าเรามีกิจกรรมทั้งนอกและในหลักสูตรต้องทำเยอะจนล้นมือ การจัดตารางตามแบบคนอื่น เช่น แต่ละวันต้องเรียน 60 นาที ทำกิจกรรม 60 นาที พักผ่อน 60 นาที ฯลฯ อาจไม่เหมาะกับเรานัก เพราะระหว่างที่ยังทำกิจกรรมไม่เสร็จ การเปลี่ยนไปนั่งเรียน 60 นาทีด้วยใจพะวักพะวงแต่กับกิจกรรมที่ทำไม่เสร็จคงไม่ดีนัก ดังนั้นลองหาวิธีจัดตารางให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของเราซึ่งแต่ละคนก็จะมีเทคนิคไม่เหมือนกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกันคืองานเสร็จทันส่งและเราไม่เครียดมากด้วย


3. หาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน – ยิ่งเรารู้วิธีการเรียนมากเท่าไร ความเครียดก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น มีงานวิจัยพบว่ายิ่งเราสามารถควบคุมความเป็นไปในชีวิตเราได้มากเท่าไรก็จะยิ่งส่งผลโดยตรงไปลดความเครียดและวิตกกังวลในการเรียนได้มากเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้เราเครียดมักเกิดจากมีงานที่ต้องทำและวิชาที่ต้องเรียนจนล้นมือ ในเมื่อเราไม่สามารถเพิ่มเวลาให้มากกว่าวันละ 24 ชั่วโมงได้ เราคงต้องหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและทำงานเพื่อให้ทำงานได้มากขึ้นในเวลาเท่าเดิม

4. ระวังอย่าเผลอทำกิจกรรมนอกหลักสูตรที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าบ่อยนัก – ทุกครั้งที่เราเริ่มตั้งสมาธิลงมืออ่านหนังสือและทำงานอย่างจริงจัง บรรดาทวิตเตอร์, เฟคบุ๊ค, เว็บไซต์, หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ทำงานไม่เสร็จเสียที แม้เราคิดว่าคุย 10 นาทีแล้วค่อยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นอีก 10 นาทีก็ได้ แต่ความเป็นจริงเวลาไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่การตั้งสมาธิก่อนเริ่มลงมือทำงานต่างหากที่เป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องเช็คอีเมล์หรือโทรคุยกับใครก็ควรทำเสียให้เรียบร้อยก่อนลงมือทบทวนบทเรียน ดังนั้นหนึ่งในเทคนิคละลายความเครียดที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการใช้อินเตอร์เน็ต, รับโทรศัพท์, ให้เพื่อนเข้ามาคุยในห้อง, หรือทำอะไรก็ตามที่อาจจะรบกวนการทบทวนบทเรียนกลางคันได้

5. ใช้เวลาวันละ 30-60 นาทีจัดตารางเวลา - ชั่วโมงแรกของแต่ละวันควรเริ่มต้นด้วยการจัดตารางสิ่งที่จะต้องทำในวันหรือสัปดาห์นั้น เสร็จแล้วให้หาที่ระบายความรู้สึกเครียดกังวลใส่อะไรสักอย่าง เช่น เขียนไดอารี่, เขียนบล็อก, หรือบ่นให้คนใกล้ตัวฟัง เมื่อสมองปลอดโปร่งและกิจกรรมที่ต้องทำได้รับการวางแผนเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นเราจะสามารถตั้งสมาธิกับการเรียนและทำงานในวันนั้นได้อย่างเต็มที่

6. แบ่งเวลาในแต่ละวันเพื่อทำงานที่เราถนัดบ้าง – บางครั้งสิ่งที่เรียนก็ไม่ใช่เรื่องที่เราถนัดเสมอไป เราอาจไม่มีเวลาพอที่จะนั่งฝึกทักษะที่ไม่ถนัดให้เก่งขึ้นแล้ววางเรื่องที่ถนัดไว้เฉยๆ เพราะการสอบไม่รอให้เราเก่งก่อน ดังนั้นอาจจะดีกว่าถ้าเราใช้ทักษะที่เราชำนาญที่สุดมาช่วยในการเรียน ส่วนการพัฒนาทักษะที่ไม่ถนัดเก็บไว้ตอนที่ไม่ต้องกังวลกับการสอบก็ได้ เช่น ถ้าเราเป็นคนถนัดการเรียนโดยการอ่านและเขียนแต่ไม่ถนัดการฟัง ดังนั้นไม่ควรอัดเลคเชอร์เพื่อกลับไปฟังหรือถอดเทปเพื่อพัฒนาทักษะการฟังในยามที่วันสอบใกล้เข้ามาแล้ว แต่ควรอ่านเตรียมก่อนไปฟังเลคเชอร์ ฟังแล้วจดและกลับมาอ่านทบทวนหรือเขียนโน้ตย่อมากกว่า ส่วนทักษะการฟังค่อยไปพัฒนาตอนทำงานที่ไม่จำเป็นต้องสอบทำเกรดแล้วก็ยังได้ วิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเครียดและกังวลในขณะเรียน แต่ถ้าใครคิดว่าตนเองไม่เครียดอยู่แล้วและอยากพัฒนาทักษะที่ไม่ถนัดก็ทำได้ตามอัธยาศัย

สรุปคือการบริหารเวลาให้ได้อย่างเหมาะสมถือเป็นวิธีสำคัญในการช่วยลดความเครียดขณะเรียนได้เพราะทำให้เรารู้สึกว่าสามารถควบคุมทุกสิ่งรอบตัวให้เป็นไปได้ดังที่วางแผน
การเรียนก็ดี กิจกรรมก็ดี...ชีวิตในมหาวิทยาลัยก็จัดการได้ลงตัว


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ^^  : Too Stressed to Study? 6 College Stress Management Tips [Internet]. [cited 2010 Oct 8];Available from:http://theadventurouswriter.com/blog/too-stressed-to-study-college-stres...

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

ความน่าเบื่อของชีวิตช่วงสอบ





มักเจอประโยคเกรียนๆ จนเอือม

- เริ่มอ่านหนังสือมั่งยัง
- ช่วงนี้เงียบไปเลยน่ะ  ซุ้มอ่านหนังสือหลอ  ; ซุ่มบ้าซุ่มบออะไรแกอ่านเยอะกว่าชั้นอีก  นอนก็หาว่าซุ่ม                                                                      อ่านหนังสือ
- อ่านเยอะๆระวังจะได้ A น่ะ   ;ถ้าเป็นแบบนั้งจริงๆก็ดีสิ
- นอนดึกจังอ่านหนังสือหลอ
- จะอ่านทำไมนักหนาจะเอา A  หลอ     ; เออ....ใช่ =.=
- อย่างแก A ทุกวิชายุแล้ว  ; นี่ประชดหลอก็รู็อยู่ความจิงเป็นไง =..=

เป็นช่วงเวลาแห่งการทรมาน และเพิ่มน้ำหนัก

- นอนดึกบ่อย  เพราะเพิ่งมาอ่านได้ทั้งวันทั้งคืนก่อนวันสอบ 1 วัน
- นอนดึกก็หิวอีก   เลยต้องกินๆๆๆๆๆ เข้าไปและสุดท้ายก็นอน
- สอบมักมาพร้อมกับสิวยังกะนัดกันมาอย่างดี  ผุดขึ้นมาแบบไม่ยั้ง

มักมีอาการแปลกๆเกิดขึ้น

- เห็นภาพหลอน  อิอิ  ล้อเล่นเวอร์ป๊ายยย
- มักมีอาการเปิดหนังสือแล้วจะง่วงนอนตลอดเวลา
- ชอบเอาหนังสือไปนอนอ่านบนเตียงนอนทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าอีกเดี๋ยวก็หลับ
- ทั้งที่จะต้องอ่านหนังสือ  แต่ก็ทำใจห้อ่านไม่ได้สะที

หลังสอบเสร็จแต่ละวิชาก็จะให้ความรู้สึกแตกต่างกันไป

-ถ้าวิชาไหนทำข้อสอบไม่ได้   ; ชีวิตทำไมถึงเป็นแบบนี้คนอื่นทำได้แต่เร๊าาาา.....เราทำไม่ได้ทำม๊าย แล้วชีวิตก็จะเข้าสู่โหมดสลดไปอีกครึ่งชั่วโมง
หรือบางที ; ทำไม่ได้ก็ช่างไม่เห็นสนเลย
-ถ้าวิชาไหนทำข้อสอบได้  ;โลกช่างสดใสหน้าอยู่  555  เราเนี่ยก็เก่งเหมือนกันนิน่ะ นอกจากจะหน้าตาดีแล้วยังจะมีความสามารถอีก
- และหลังจากที่สอบเสร็จจะทำให้เรารู้ว่า การนอนหลับได้แบบมาราธอนเป็นยังไง 55

          แต่ตอนสอบก็แปลกน่ะบางคนชอบถามว่าอ่านหนังสือยัง พอบอกว่ายังไม่อ่าน  ม๊านนนก็ไม่เชื่อ  แล้วจะถามเพื่อ?   บางทีตอนสอบอิคนบอกยังอ่านไม่ถึงไหน  ทำข้อสอบไม่ได้เสือกได้คะแนนเยอะ   อิคนบอกว่าทำได้อ่านหนังสือมาทั้งเดือนดันได้คะแนนน้อย  555  แล้วเราก็จะวนเวียนเจอเรื่องแบบนี้อยู่ร่ำไปทุกครั้งที่มีการสอบ