จดเลคเชอร์วิชาเรียน แบบขั้นเทพ! ใช้ ภาษาวัยรุ่น ให้ถูกทาง
สมัยนี้! อะไรมันก็ต้องว่องไว รวดเร็วไว้ก่อน .. ยิ่งเฉพาะ วัยรุ่น สมัยนี้เห็นแล้วยิ่งปวดหัว ?เวลาพูดก็ย่อภาษาไทย ซะจนอ่านไม่รู้เรื่อง?ไม่รู้จะรีบไปไหนกัน วัยรุ่นที่ดีก็ไม่ควรทำตามนะคะ ^^ อยากจะชวนเพื่อนมาใช้ภาษาให้ถูกต้อง และมีประโยชน์กันหน่อยดีกว่า?
เริ่มจากนี่เลย .. ในห้องเรียน ในวิชาต่างๆ อาจารย์ก็มักจะชอบให้จดสิ่งสำคัญๆไว้ใช่ไหมหล่ะ ยิ่งในระดับ มหาวิทยาลัย แล้วก็ต้องจดเลคเชอร์กันแน่ๆ ก็เลยอยากแนะนำเทคนิคการจดเลคเชอร์แบบขั้นเทพมาฝากกัน รับรองว่าจดทุกคำที่สำคัญทัน เข้าใจง่าย และ ภาษา ที่ใช้นั้นไม่วิบัติแน่นอนคะ ^^
เริ่มต้นด้วยสัญลักษณ์ จดเลคเชอร์วิชาเรียน แบบขั้นเทพ! ใช้ ภาษาวัยรุ่น ให้ถูกทาง
ดอกจัน (*)?เคยได้ยินอาจารย์บอกว่า ?เอ้า..ดอกจันเอาไว้ตรงนี้? มั๊ยคะ แบบนี้เพื่อนๆก็ต้องรีบทำตามโดยด่วนเลย เพราะที่อาจารย์บอกนี่แหละ คือคีย์เวิร์ดที่ได้ใบ้ให้แล้วว่ามันสำคัญ ดังนั้นเวลาเราจดเลคเชอร์อยู่ ถ้ารู้สึกว่ามันสำคัญ ก็ดอกจันไว้ข้างหน้า ดีกว่ามานั่งจดว่ามันสำคัญนะ!!
แดท (-)?เอาไว้ขึ้นย่อหน้าใหม่ หรือขึ้นประเด็นใหม่ แนะนำนิดนึงว่า เวลาจดไม่ควรจดยาวเป็นคอยีราฟนะคะ ควรจะจับใจความสำคัญ แล้วค่อยเขียนลงไปมากกว่า เพราะเวลากลับมานั่งอ่านซ้ำ ถ้าจดยาวรับรองได้ว่า มึนเป็นไก่ตาแตกแน่ๆ
หมวกหงายหรือตัววี (v)?ใช้แทนคำว่า ?หรือ? อันนี้ใช้ตามหลักตรรกศาสตร์ในวิชาคณิตศาสตร์ จะช่วยลดเวลาในการจดได้ดีทีเดียว
เครื่องหมายบวก (+)?ใช้แทนคำว่า ?และ?
ลูกศรขึ้น/ลง?ใช้ในความหมายตรงตัว ก็คือ ?มากขึ้น? หรือ ?น้อยลง?
ลูกศรชี้ไปทางขวา (?)?ใช้แทนคำว่า ?นำไปสู่? ?ไปยัง? หรือใช้แทนความหมายที่ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงก็ได้
รูปหัวใจ?ใช้แทนคำว่า ?หัวใจ? หรือ ?หัวใจสำคัญ? อันนี้ก็ใช้บ่อยเหมือนกันนะคะ เป็นตัวแทนของคำหรือประโยคที่เราจะเน้นว่าสำคัญ ^^
เครื่องหมายคำถาม (?)?ใช้แทนคำว่า ?อะไร? ?ใช่มั้ย? เช่น เพราะ? หรืออาจใช้ในข้อความที่เราจดแล้วไม่แน่ใจ ต้องกลับไปหาคำตอบเพิ่ม
?อักษรย่อ?:?จดเลคเชอร์วิชาเรียน แบบขั้นเทพ! ใช้ ภาษาวัยรุ่น ให้ถูกทาง
เพื่อนๆเป็นกันรึเปล่า? เวลาที่ต้องจดคำหรือประโยคยาวมากๆมักจะจดไม่ทัน ต้องรีบจด จดยาวเป็นหางว่าวกลับมาอ่านอีกทีก็มึนซะแล้ว เพราะฉะนั้นเราก็ต้องหัดย่อคำให้เป็นนิสัยแทน คราวนี้อาจารย์จะพูดยาวแค่ไหน เราก็ไม่หวั่น ^^
?อักษรย่อที่มีอยู่แล้ว?เช่น ร.ร.(โรงเรียน), ปวส.(ประวัติศาสตร์), ตย.(ตัวอย่าง), ปท.(ประเทศ), นน.(น้ำหนัก), เป็นต้น หรืออักษรย่อวันต่างๆ คำย่อพวกนี้ใช้ได้เต็มที่เลยค่ะ ซึ่งการใช้อักษรย่อนั้นเราไม่จำเป็นต้องถูกหลักเป๊ะก็ได้ เพราะอย่าลืมว่าเราใช้อักษรย่อเพื่อให้จดเร็วขึ้น มานั่งเครียดว่าเอ๊ะ! เราใส่จุดถูกที่รึเปล่า แบบนี้ช้ากว่าเดิมแน่นอน อีกอย่างสมุดเลคเชอร์เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของเรา ใช้เพื่อความเข้าใจของเราเท่านั้น แต่ยังไงซะ ถ้าออกมากจากสมุดเราแล้วก็ต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักภาษานะคะ
ย่อเป็นภาษาอังกฤษ?เช่น coz(cause)(เพราะ), OK.(โอเค), Gr.(กลุ่ม) เป็นต้น คำภาษาอังกฤษพวกนี้ก็เป็นคำง่ายๆ คุ้นเคยกันอยู่ เอามาใช้ก็จะสะดวกกว่า
ย่อเพื่อลดคำ?เช่น ก.(การ) , ค.(ความ), ญ.(ผู้หญิง), ช.(ผู้ชาย), ศ.(ศาสนา) เป็นต้น วิธีนี้เราย่อเพื่อความสะดวกของเราเองค่ะ อย่างคำว่า ?การ? และ ?ความ? พบบ่อยมากๆ ในภาษาไทย ถ้าเรามัวแต่เขียนเต็มทุกคำ ทำมาหากินไม่ทันเพื่อนแน่นอน อาจจะเห็นบ่อย เช่น ค.สุข ค.เศร้า ก.พนัน ฯลฯ
ย่อให้เหลือแต่คำหน้า ในคำที่รู้คำเต็ม?เช่น วิทยาศาสตร์ จดเป็น วิทย์ ,คอมพิวเตอร์ เป็น คอมฯ คำพวกนี้มักเป็นคำที่เข้าใจความหมายตั้งแต่คำแรก แล้วเราจะเขียนเต็มคำเพื่ออะไรล่ะ??
ย่อตามความคุ้นเคยของตัวเอง?เช่น เพราะ ย่อเป็น พ. ประโยชน์ เป็น ปย. สมัย เป็น ส. วิธีนี้เสี่ยงหน่อย ต้องใช้บ่อยๆ และจำให้ได้ เพราะมีโอกาสที่จะลืมสูงมาก บางทีจดเองก็งงเองว่าย่อมาจากคำว่าอะไร หรืออาจจะตีความหมายผิดไป เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้คุ้นเคย เพราะมีเราคนเดียวที่เข้าใจ เผลอลืมไปคนอื่นก็ช่วยไม่ได้นะจ๊ะ
ห้ามพลาด!! แนะอีกนิด : เพื่อนๆอาจจะใช้ ปากกาเมจิกหัวเล็กในการ?จดเลคเชอร์ ก็ได้นะคะ วิธีนี้ใช้บ่อยที่สุดเลย ไล่ความสำคัญตามสี เช่น สีแดง เป็นคำสำคัญ , อาจจะใช้สีแบ่งตามกลุ่มหัวข้อก็ได้อยู่นะ หรือใช้ปากกาเน้นคำ เลือกเอาสีเด่นๆได้ยิ่งดี สามารถทำให้เรามองเห็นคีย์เวิร์ดสำคัญได้ง่ายด้วย ไม่ต้องหาจนตาลาย?และวิธีนี้ผลสำรวจก็บอกว่า การใช้สีในการ?จดเลคเชอร์ นั้นจะทำให้สมองของเรามีการจดจำได้ดีกว่าวิธีอื่นด้วยนะคะ!
เพื่อนๆก็ได้รู้เคล็ดลับ?จดเลคเชอร์วิชาเรียน แบบขั้นเทพ! ไปแล้วยังไงก็อย่าลืม ใช้ ภาษา ให้ถูกทางด้วยนะคะ ^^
ขอบคุณที่มา?eduzones.com,?dek-d.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น